วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา

46810118:            สาขา: วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา ;
                                ปร.ด. (วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา)
คำสำคัญ:                               อารมณ์/นักกีฬาไทย
                อาพรรณชนิด ศิริแพทย์: การพัฒนาแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย (DEVELOPMENT OF THE THAI ATHLETE MOOD SCALE) อาจารย์ผู้ควบคุมดุษฎีนิพนธ์:
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร, ph.D., นพวรรณ เปียซื่อ , ph.D., พิชิต เมืองนาโพธิ์ , ph.D.,170 หน้า.
ปี พ.ศ. 2550.
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                1. เพื่อพัฒนาแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทยที่ใช้ในการกีฬา ฉบับภาษาไทย
                2. เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติการวัด (Psychometric Properties) ของแบบทดสอบระดับอารมณ์ที่สร้างขึ้น ได้แก่ ความเที่ยง (Reliability) ความตรงเชิงเนื้อหา  (Content Validity)  ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ความตรงตามสภาพ หรือความตรงร่วมสมัย  (Concurrent Validity)  และความตรงในการทำนาย  (Predictive Validity) ที่มีความเหมาะสมกับนักกีฬาไทย
ขอบเขตของการวิจัย
                การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบ (Instrument Development) “ระดับอารมณ์สำหรับนักกีฬาฉบับภาษาไทย ซึ่งมีขอบเขตการศึกษาดังนี้
                1. การสร้างแบบทดสอบระดับอารมณ์สำหรับนักกีฬาไทย สร้างจากการศึกษาทฤษฎีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ แบบทดสอบระดับอารมณ์ของบรูเนล ของ เทอร์รี่ และเลนน์ (Terry & Lane, 2002) และการสัมภาษณ์นักกีฬาไทยเกี่ยวกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นในการแข่งขันกีฬา
                2. แบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของไทย
                3. กลุ่มตัวอย่างที่นำมาประกอบการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบฉบับนี้ คือ นักกีฬาไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา อายุ 18-21 ปี
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ระยะดังนี้
                1. ระยะที่ 1 การสร้างแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
                2. ระยะที่ 2 การทดสอบคุณภาพของแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
ขั้นตอนในการเก็บข้อมูล
                ก. ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลเพื่อสร้างแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
                ข. ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลเพื่อทดสอบคุณภาพของแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
การวิเคราะห์ข้อมูล
                1. ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
                2. ระยะที่ 2 การทดสอบคุณภาพของแบบทดสอบ
                3. ระยะที่ 3 การสร้างแบบแปลผลระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย ด้วยการหาค่าเกณฑ์ปกติ (Norm) ของแบบทดสอบ
สรุปขั้นตอนในการวิจัย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างแบบทดสอบ
                ส่วนที่ 1 การสร้างแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
                ส่วนที่ 2 ข้อมูลการทดสอบคุณภาพของแบบทดสอบ TAMS
                ผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลการทดสอบคุณภาพของแบบทดสอบ TAMS ดังนี้
                1. ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง
                                1.1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
                                1.2 ค่าสถิติพื้นฐานของข้อย่อยแต่ละข้อ
                2. ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) 
                3. ความเที่ยง (Reliability)
                4. ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)
                                4.1 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis)
                                4.2 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis)
                5. ความตรงตามสภาพ หรือความตรงร่วมสมัย  (Concurrent Validity)
6. ความตรงในการทำนาย  (Predictive Validity)
                ส่วนที่ 3 การสร้างแบบแปลผลระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
สรุปผลการวิจัย
                การวิจัยครั้งนี้ได้แบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย (Thai Athlete Mood Scale:TAMS) ที่มีคุณภาพ แบบทดสอบประกอบด้วย 5 กลุ่มอารมณ์ จำนวน 33 ข้อย่อย มีระดับคำตอบ 5 ระดับแบบลิเคิต ให้คะแนนเรียงลำดับจากน้อยไปมาก คือ ไม่เกิดขึ้นเลย” = 0, “เกิดขึ้นเล็กน้อย” = 1, “เกิดขึ้นบ้าง” = 2, “เกิดขึ้นมาก” = 3, และ เกิดขึ้นมากที่สุด” = 4


               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น