วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มวยไทย




                                            
 ผมชื่อนายสิรายุทธ  พับเพลิง  (ชาติ)  จบพลศึกษาระดับปริญญาตรี  ปี2544  เป็นนักกีฬามวยไทยอาชีพ  โดยใช้ชื่อชกมวยไทยว่า  ชาติชาย  ว.วลาพล และเป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นของเยาวชนทีมชาติไทย  นักกีฬามวยสากลสมัครเล่นของมหาวิทยาลัย  ปัจจุบันเป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยอาชีพและมวยสากลสมัครเล่นของเขต  10  กรุงเทพมหานคร  รวมถึงผู้ฝึกสอนมวยไทยมวยสากลสมัครเล่นของวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการราชดำเนิน  ซึงเป็นสถานที่ทำงานในปัจจุบัน  ที่เขียนบทความเกี่ยวกับกีฬามวยไทยขึ้นมาในครั้งนี้ด้วยความชื่นชอบและต้องการเผยแพร่ศิลปะแม่ไม้มวยไทยดังรายละเอียดในบทความต่อไปนี้



ศิลปะมวยไทย เป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธมือเปล่า ทั้งในระยะห่างตัว ระยะใกล้ตัว และระยะประชิดตัว จนได้รับการยอมรับว่า เป็นการต่อสู้ที่ผสมผสานของศาสตร์และศิลป์ได้อย่างสวยงามและอันตรายยิ่งมวยไทยนั้นมีมาพร้อมกับคนไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านาน ในสมัยโบราณประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ จึงมีการสู้รบกันอยู่เสมอๆ ดังนั้นชายไทยจึงนิยมฝึกมวยไทยควบคู่กับการฝึกอาวุธ ต่อมาได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น มีลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงามแฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่งดุดัน สามารถฝึกเพื่อป้องกันตนเอง เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย และเพื่อเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ความเป็นมาของมวยไทย มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเชิงกีฬาและการต่อสู้จริง ๆ ศิลปะประเภท นี้มีมาแต่โบราณกาล บรรพบุรุษของชาติไทยได้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนกุลบุตรไว้เพื่อป้องกันตัวและชาติ บรรดาชายฉกรรจ์ของไทยได้รับการฝึกฝน วิชามวยไทยแทบทุกคน นักรบผู้กระเดื่องนามทุกคนต้องได้รับการฝึกฝนอบรมศิลปะประเภทนี้อย่างจัดเจนทั้งสิ้น เพราะการใช้อาวุธในสมัยโบราณ เช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ ถ้ามีความรู้วิชามวยไทยประกอบด้วยแล้วจะทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เข้าต่อสู้ติดพันประชิดตัว ก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะบางส่วนเข้าช่วย เช่น เข่า เท้า ศอก เป็นต้น แต่เดิมมาศิลปะมวยไทยที่มีชั้นเชิงสูงมักจะฝึกสอนกันในบรรดาเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือเฉพาะพระมหากษัตริย์และขุนนางฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปถึงสามัญชนซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากบรรดา อาจารย์ซึ่งเดิมเป็นขุนพลหรือยอดนักรบมาแล้ว วิทยาการจึงได้แพร่หลายและคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
 มวยไทยนั้นมีมาพร้อมกับคนไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านานในสมัยโบราณประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ จึงมีการสู้รบกันอยู่เสมอๆ ดังนั้นชายไทยจึงนิยมฝึกมวยไทยควบคู่กับการฝึกอาวุธต่อมาได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้นมีลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงามแฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่งดุดันสามารถฝึกเพื่อป้องกัน ตนเองเพื่อความแข็งแรงของร่างกายและเพื่อเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย




 
                                                    


(จ ากe-learning กลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 3)

 
กติกาข้อที่ 1 " สังเวียน "
ในการแข่งขันทั่ว ๆ ไป สังเวียนต้องเป็นไปตามข้อกำหนดต่อไปนี้

 
กติกาข้อที่ 2 อุปกรณ์สังเวียน
อุปกรณ์ประจำสังเวียนจะต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

 
กติกาข้อที่ 3 " นวม "
นวมที่ใช้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

 
กติกาข้อที่ 4 " ผ้าพันมือ "
ให้ใช้ผ้าพันมืออย่างอ่อนยาวข้างละไม่เกิน 6 เมตร กว้างไม่เกิน 5 ซม. ผ้าพันมือชนิดอื่นใช้ไม่ได้ แถบกาวยางหรือพลาสเตอร์ทุกชนิด เป็นผ้าพันมือไม่ได้เด็ดขาด อาจใช้ พลาสเตอร์ยางไม่เกิน 2.5 เมตร กว่าง 2.5 ซม. ข้างละ 1 เส้น ปิดทับข้อมือหรือหลังมือห้ามพันทับสันหมัด

 
กติกาข้อที่ 5 " เครื่องแต่งกาย "
ก. การแต่งกายของผู้เข้าแข่งขัน
            ต้องสวมกางเกงขาสั้นเพียงครึ่งโคนขาให้เรียบร้อยไม่สวมเสื้อและรองเท้านักมวยมุมแดงให้กางเกงสีแดง ชมพู สีเลือดหมู หรือสีขาวที่มีแถบแดงคาด นักมวยมุมน้ำเงินใช้กางเกงสีน้ำเงิน และสีดำ ห้ามคาดแถบสีแดง และต้องสวมเสื้อคลุมตามข้อบังคับสภาพมวยไทยโลก
           ต้องสวมกระจับที่ทำขึ้นจากวัสดุแข็งแรงทนทาน และได้รับการรับรองจากสภามวยไทยโลกเมื่อถูกตีด้วยเข่าหรืออาวุธในการต่อสู้อย่างอื่นตรงบริเวณ อวัยวะเพศจะไม่ทำให้เกิดอันตราย การผูกกระจับต้องผูกปมไว้ด้านหลัง และต้องผูกด้วยเงื่อนตาย เก็บปลายเชือกส่วนที่เหลือให้เรียบร้อย
           ห้ามไว้ผมยาวรุงรัง และห้ามไว้เครา อนุญาตให้ไว้หนวดได้แต่ต้องยาวไม่เกินริมฝีหาก เล็บเท้า ต้องตัดให้เรียบและสั้น
           ต้องสวมมงคลผ้าประเจียด หรือรัดเกล้า เฉพาะเวลาร่ายรำไหว้ครู ก่อนทำการแข่งขันเท่านั้น เครื่องรางอนุญาตให้ผูกที่โคนแขน หรือเอว แต่ต้องหุ้มผ้าให้มิดชิดเรียบร้อย เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่คู่แข่งขัน
           อนุญาตให้ใช้ปลอกยืดรัดข้อเท้ากันเคล็ด สวมข้อเท้าได้ข้างละไม่เกิน 1 อัน แต่ห้ามมิให้เลื่อนปลอกรัดขึ้นไปเป็นสนับแข้งหรือม้วนพับลงมา และห้ามใช้ผ้ารัดขาและข้อเท้า
          ห้ามใช้เข็มขัดหรือสิ่งที่เป็นโลหะ สร้อย ฯลฯ
          ห้ามใช้น้ำมันวาสลิน น้ำมันร้อน ไขหรือสมุนไพร หรือสิ่งอื่นที่ทำให้คู่แข่งขันเสียเปรียบหรือเป็นที่น่ารังเกียจทาร่างกายหรือนวม
          ฟันยาง ผู้แข่งขันต้องใส่ฟันยาง
ข. การละเมิดเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย ผู้ชี้ขาดจะให้นักมวยที่แต่งกายไม่สะอาดถูกต้องออกจากการแข่งขัน ในกรณีที่นวมหรือเครื่องแต่งกายของนักมวยไม่เรียบร้อยขณะแข่งขัน ผู้ชี้ขาดจะหยุดการแข่งขันเพื่อจัดให้เรียบร้อย



กติกาข้อที่ 6 " การจำแนกรุ่นและการชั่งน้ำหนัก "

ก. การจำแนกรุ่น และน้ำหนักที่ใช้ในการแข่งขัน
          รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 104 ปอนด์ (47.727 กก.)
          รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 108 ปอนด์ (48.988 กก.)
          รุ่นฟลายเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 112 ปอนด์ (50.802 กก.)
          รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 115 ปอนด์ (52.163 กก.)
          รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 118 ปอนด์ (53.524 กก.)
          รุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 122 ปอนด์ (55.338 กก.)
          รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 126 ปอนด์ (57.153 กก.)
          รุ่นจูเนียร์ไลท์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 130 ปอนด์ (58.967 กก.)
          รุ่นไลท์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กก.)
          รุ่นจูเนียร์เวลเตอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 140 ปอนด์ (63.503 กก.)
          รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 147 ปอนด์ (66.638 กก.)
          รุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 154 ปอนด์ (69.843 กก.)
          รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 160 ปอนด์ (71.575 กก.)
          รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 175 ปอนด์ (79.379 กก.)
          รุ่นครุยเซอร์เวท น้ำหนักอย่างมากไม่เกิน 190 ปอนด์ (86.183 กก.)
          รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักเกิน 190 ปอนด์ขึ้นไป (86.183 กก. ขึ้นไป)
ข. การชั่งน้ำหนัก
          ผู้เข้าแข่งขันต้องชั่งน้ำหนักในวันแข่งขันอย่างตัวเปล่า โดยการาแข่งขันจะต้องไม่เริ่มขึ้นก่อน 3 ชั่วโมง ภายหลังจากเวลาชั่งน้ำหนัก
          เมื่อหมดเวลาชั่งน้ำหนักที่กำหนดไว้ ผู้แข่งขันที่น้ำหนักเกินในการชั่งครั้งก่อน ให้ทำการชั่งเป็นครั้งสุดท้าย
         ก่อนชั่งน้ำหนัก ผู้เข้าแข่งขัน ต้องได้รับการรับรองและการตรวจจากนายแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งว่าเป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ที่จะเข้าแข่ง ขันได้


         นวมที่ใช้ในการแข่งขัน ผู้แข่งขันต้องใช้นวมที่ได้รับการรับรองจากสภามวยไทยโลก ซึ่งคณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดไว้ให้เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ผู้แข่งขัน ใช้นวมของตัวเอง
         รายละเอียดของนวม นักมวยตั้งแต่รุ่นเล็กถึงรุ่นน้ำหนัก 122 ปอนด์ ใช้นวมขนาด 8 ออนซ์ ( กรัม) นักมวยรุ่นสูงกว่า 122 ปอนด์ ถึงรุ่นน้ำหนัก 147 ปอนด์ ใช้นวมขนาด 10 ออนซ์ (284 กรัม) ส่วนที่เป็นหนังต้องหนักไม่เกินครึ่งหนึ่งของน้ำหนักนวมทั้งขนาดและไส้นวมต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของน้ำหนัก นวมทั้งหมด ไส้นวมต้องไม่เปลี่ยนรูปหรือถูกบดขยี้ให้กระจายไปจากรูปเดิม ต้องผูกเชือกนวมให้ปมเชือกอยู่ด้านนอกหลังข้อมือของนวม ให้ใช้นามที่สะอาด และให้การได้เท่านั้น
          การตรวจผ้าพันมือและการสวมนวม ทั้งนวมและผ้าพันมือจะต้องเหมาะสม อยู่ภายใต้การตรวจตราของเจ้าหน้าที่ตรวจนวม เจ้าหน้าที่จะต้องคอยดูแลเพื่อให้แน่ใจว่า นักมวยปฏิบัติถูกต้องตามกติกาทุกอย่าง จนกระทั่งนักมวยขึ้นสู่เวที


          ที่นั่งพักนักมวย สำหรับนักมวยนั่งพักระหว่างยก 2 ที่
ขวดน้ำขนาดเล็ก 2 ขวด สำหรับดื่ม และขวดน้ำชนิดพ่นฝอย 2 ขวด ไม่อนุญาตให้นักมวยหรือที่เลี้ยงใช้ขวดน้ำชนิด   อื่น ๆ ในสังเวียน
         ผ้าเช็ดตัว 2 ผืน
         น้ำ 2 ถัง
        โต๊ะและเก้าอี้สำหรับเจ้าหน้าที่
        ระฆัง
นาฬิกาจับเวลาชนิดกดหยุดได้ 1 หรือ 2 เรือน
ใบบันทึกคะแนน
หีบใส่กุญแจสำหรับเก็บใบบันทึกคะแนน
ป้ายบอก ยก – เวลา – คู่ 1 ชุด
นวม 2 คู่
กางเกงมวยสีแดง และสีน้ำเงิน อย่างละ 1 ตัว
กระจับพร้อมเชือก 1 – 2 อัน
ฉากบังตา 2 อัน (ใช้ในกรณีที่นักมวยกระจับหลุด)
เปลหามคนเจ็บ 1 ชุด
กรรไกรปลายมน 1 อัน


ขนาด สังเวียนต้องเย็บมุมสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดเลิก ด้านละ 20 ฟุต (6.10 เมตร) และขนาดใหญ่ ด้านละ 24 ฟุต (7.30 เมตร) ซึ่งวัดภายในของเชือก
พื้นและมุม พื้นสังเวียนต้องสร้างให้ปลอดภัย และได้ระดับปราศจากสิ่งกีดขวางใด ๆ และต้องยื่นออกไปนอกเชือก อย่างน้อย 90 ซม. (36 นิ้ว) พื้นสังเวียนต้องอยู่สูงจากพื้นอาคารไม่ต่ำกว่า 4 ฟุต และสูงไม่เกิน 5 ฟุต ตั้งเสาขนาด 4-5 นิ้ว สูงขึ้นไปจากพื้นเวที 58 นิ้ว มุมทั้งสี่ต้องหุ้มนวมให้เรียบร้อยหรือจะทำอย่างใดที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่นักมวย
การปูพื้นสังเวียน พื้นสังเวียนต้องปูด้วย ยาง ผ้าอย่างอ่อน เสื่อฟางอัด ไม้ก๊อกอัดหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม หนาไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว และไม่หนากว่า 1? นิ้ว และปูทับด้วยผ้าใบให้ตึงและมิดชิดคลุมพื้นสังเวียนทั้งหมด
เชือก ต้องมีเชือก 4 เส้น มีความหนาอย่างน้อย 3 ซม. (1.18 นิ้ว) อย่างมาก 5 ซม. (1.97 นิ้ว) ขึงตึงกับเสามุมทั้งสี่ของสังเวียน สูงจากฟื้นสังเวียนขึ้นไปถึง ด้านบนของเชือก 45 ซม. (18 นิ้ว) 75 ซม. (30 นิ้ว) 105 ซม. (42 นิ้ว) และ 135 ซม. (54 นิ้ว) ตามลำดับเชือกต้องหุ้มด้วยวัสดุที่อ่อนนุ่มและเรียบ เชือกแต่ละด้านของสังเวียนต้องผูกยึดกันด้วยผ้าเหนียว 2 ชิ้น ซึ่งมีขนาดกว้าง 3 – 4 ซม. (1.2 – 1.6 นิ้ว) ให้มีระยะห่างเท่า ๆ กัน และผ้าที่ผูกนั้นต้อง ไม่เลื่อนไปตามเชือก
บันได สังเวียนต้องมีบันได 3 บันได มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 3 ? ฟุต สองบันไดต้องอยู่ที่มุมตรงข้ามสำหรับผู้เข้าแข่งขันและพี่เลี้ยง ส่วนอีกบันไดหนึ่ง ให้อยู่ที่มุม กว้าง สำหรับผู้ชี้ขาดและแพทย์
กล่องพลาสติก ที่มุมกลางทั้งสองมุมนอกสังเวียน ให้ติดกล่องพลาสติกมุมละ 1 กล่อง เพื่อให้ผู้ชี้ขาดทิ้งสำลี หรือกระดาษที่ใช้ซับเลือก

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มวยไทยครับผม

มวยไทยเป็นศิลปประจำชาติไทย  ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ  สำหรับมวยไทยที่มีการแข่งขันในเมืองไทยในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมที่จะใช้ศิลปแม่ไม้มวยไทยกันเท่าที่ควรสาเหตุเนื่องจากนิยมใช้พละกำลังและความแข็งแรงเป็นหลักเกณฑ์ในการตัดสินและให้คะแนน