วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา

46810118:            สาขา: วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา ;
                                ปร.ด. (วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา)
คำสำคัญ:                               อารมณ์/นักกีฬาไทย
                อาพรรณชนิด ศิริแพทย์: การพัฒนาแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย (DEVELOPMENT OF THE THAI ATHLETE MOOD SCALE) อาจารย์ผู้ควบคุมดุษฎีนิพนธ์:
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร, ph.D., นพวรรณ เปียซื่อ , ph.D., พิชิต เมืองนาโพธิ์ , ph.D.,170 หน้า.
ปี พ.ศ. 2550.
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                1. เพื่อพัฒนาแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทยที่ใช้ในการกีฬา ฉบับภาษาไทย
                2. เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติการวัด (Psychometric Properties) ของแบบทดสอบระดับอารมณ์ที่สร้างขึ้น ได้แก่ ความเที่ยง (Reliability) ความตรงเชิงเนื้อหา  (Content Validity)  ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ความตรงตามสภาพ หรือความตรงร่วมสมัย  (Concurrent Validity)  และความตรงในการทำนาย  (Predictive Validity) ที่มีความเหมาะสมกับนักกีฬาไทย
ขอบเขตของการวิจัย
                การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบ (Instrument Development) “ระดับอารมณ์สำหรับนักกีฬาฉบับภาษาไทย ซึ่งมีขอบเขตการศึกษาดังนี้
                1. การสร้างแบบทดสอบระดับอารมณ์สำหรับนักกีฬาไทย สร้างจากการศึกษาทฤษฎีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ แบบทดสอบระดับอารมณ์ของบรูเนล ของ เทอร์รี่ และเลนน์ (Terry & Lane, 2002) และการสัมภาษณ์นักกีฬาไทยเกี่ยวกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นในการแข่งขันกีฬา
                2. แบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของไทย
                3. กลุ่มตัวอย่างที่นำมาประกอบการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบฉบับนี้ คือ นักกีฬาไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา อายุ 18-21 ปี
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ระยะดังนี้
                1. ระยะที่ 1 การสร้างแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
                2. ระยะที่ 2 การทดสอบคุณภาพของแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
ขั้นตอนในการเก็บข้อมูล
                ก. ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลเพื่อสร้างแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
                ข. ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลเพื่อทดสอบคุณภาพของแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
การวิเคราะห์ข้อมูล
                1. ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
                2. ระยะที่ 2 การทดสอบคุณภาพของแบบทดสอบ
                3. ระยะที่ 3 การสร้างแบบแปลผลระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย ด้วยการหาค่าเกณฑ์ปกติ (Norm) ของแบบทดสอบ
สรุปขั้นตอนในการวิจัย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างแบบทดสอบ
                ส่วนที่ 1 การสร้างแบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
                ส่วนที่ 2 ข้อมูลการทดสอบคุณภาพของแบบทดสอบ TAMS
                ผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลการทดสอบคุณภาพของแบบทดสอบ TAMS ดังนี้
                1. ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง
                                1.1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
                                1.2 ค่าสถิติพื้นฐานของข้อย่อยแต่ละข้อ
                2. ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) 
                3. ความเที่ยง (Reliability)
                4. ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)
                                4.1 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis)
                                4.2 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis)
                5. ความตรงตามสภาพ หรือความตรงร่วมสมัย  (Concurrent Validity)
6. ความตรงในการทำนาย  (Predictive Validity)
                ส่วนที่ 3 การสร้างแบบแปลผลระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย
สรุปผลการวิจัย
                การวิจัยครั้งนี้ได้แบบทดสอบระดับอารมณ์ของนักกีฬาไทย (Thai Athlete Mood Scale:TAMS) ที่มีคุณภาพ แบบทดสอบประกอบด้วย 5 กลุ่มอารมณ์ จำนวน 33 ข้อย่อย มีระดับคำตอบ 5 ระดับแบบลิเคิต ให้คะแนนเรียงลำดับจากน้อยไปมาก คือ ไม่เกิดขึ้นเลย” = 0, “เกิดขึ้นเล็กน้อย” = 1, “เกิดขึ้นบ้าง” = 2, “เกิดขึ้นมาก” = 3, และ เกิดขึ้นมากที่สุด” = 4


               

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

มวยไทนในพณิชยการราชดำเนิน




                                  รวมสุดยอดนักมวยไทยแห่งค่ายมวย  "พณิชยการราชดำเนิน" 
โดยการนำของอาจารย์กฤษฎา  จุลชาต  ผู้จัดการและหัวหน้าคณะ  และ อาจารย์สิรายุทธ  พับเพลิง 
 หรือชาติชาย  ว.วลาพล ผู้ฝึกสอน  โดยวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการราชดำเนิน  ส่งเสริมสนับสนุนในด้านกีฬาทุกประเภท  ดังปรัชญาของสถาบันที่ว่าด้วย  "การเรียนดี  กีฬาเด่น  เน้นคุณธรรม  กิจกรรมเป็นเลิศ"
 ผลงานในด้านมวยไทยอาชีพ  ประกอบไปด้วยแชมป์เวทีมาตรฐานอย่างคับคั่ง  ดังต่อไปนี้


ยอดพนมรุ้ง  พณิชยการราชดำเนิน แชมป์  115  เวทีมวยสยามอ้อมน้อย


พระจันทร์ฉาย  พณิชยการราชดำเนิน  แชมป์  105  เวทีมวยราชดำเนิน

เก่งกล้า   พณิชยการราชดำเนิน   แชมป์  108  เวทีมวยช่องเจ็ดสี

รุ่งเพชร  พณิชยการราชดำเนิน  แชมป์   118  เวทีมวยลุมพินี


สมรรถภาพทางกาย

สมรรถภาพทางกาย

เมื่อพิจารณาถึงสมรรถภาพทางกายภาพตลอดชั่วชีวิตของคนเรา พบว่า คนเรานั้นจะมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้นจากวัยเด็กเรื่อยมาจนถึงจุดสูงสุดในช่วงอายุ 25 – 30 ปี ต่อจากนั้นสมรรถภาพทางกายและวุฒิภาวะจะเริ่มลดลงตามลำดับ
การมีสุขภาพดีเป็นรากฐานของการมีสมรรถภาพทางกายที่ดี ดังนั้น สมรรถภาพจึงเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถของร่างกายในการที่จะประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
โดยทั่วไปสมรรถภาพทางกายแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
1. 1. สมรรถภาพทางกายทั่วไป (General Physical fitness)
2. 2. สมรรถภาพทางกายพิเศษ (Special Physical fitness)
มรรถภาพทางกายทั่วไป (General Physical fitness)
คณะกรรมการนานาชาติ เพื่อจัดมาตรฐานการทดสอบความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย (International for the Standardization of Physical fitness Test) ได้จำแนกความสมบูรณ์ทางกายออกเป็น 7 ประเภท คือ
1. 1. ความเร็ว (Speed) คือ ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด
2. 2. พลังกล้ามเนื้อ (Muscle Power) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อในการทำงานอย่างรวดเร็ว และแรงในจังหวะของกล้ามเนื้อหดตัวหนึ่งครั้ง เช่น ยืนกระโดดไกล
3. 3. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัว เพียงครั้งเดียวโดยไม่จำกัดเวลา เช่น การยกน้ำหนัก เป็นต้น
4. 4. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle endurance , Anaerobic Capacity) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อที่ได้ประกอบกิจกรรมซ้ำซากได้เป็นระยะเวลานานอย่างมีประสิทธิภาพ
5. 5. ความคล่องตัว (Agility) คือ ความสามารถของร่างกายที่จะบังคับควบคุมในการเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่ได้ด้วยความรวดเร็วและแน่นอน
6. 6. ความอ่อนตัว (Flexibility) คือ ความสามารถของข้อต่อต่าง ๆ ในการที่จะเคลื่อนไหวได้อย่างกว้างขวาง
7. 7. ความอดทนทั่วไป (General endurance) คือ ความสามารถในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายที่ทำงานได้นานและมีประสิทธิภาพ


 

การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายทั่วไป (General Physical fitness)

1. 1. การเสริมสร้างความเร็ว ( Speed )
ความเร็วของการเคลื่อนไหว ขึ้นอยู่กับการทำงานของระบบประสาท และระบบกล้ามเนื้อ
และการเปลี่ยนแปลงความเร็ว ซึ่งเกิดจากระบบประสาทเป็นส่วนใหญ่
เมื่อกล่าวถึงความเร็วในการออกกำลังกายแล้ว จะต้องแยกการเคลื่อนไหวออกเป็น 2 อย่าง คือ การเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ กับการเคลื่อนไหวแบบธรรมดาง่ายๆ ดังนั้น การฝึกการเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษ เพื่อเพิ่มความเร็ว จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่า เช่น ฝึกว่ายน้ำ ตีเทนนิส หรือพิมพ์ดีด เป็นต้น ซึ่งในช่วงแรกของการฝึกจะกระทำได้ช้า แต่ต่อมา จะสามารถเพิ่มความเร็วขึ้นได้เรื่อยๆ และในการเริ่มต้นของการฝึกถ้ากระทำให้ถูกวิธี จะเป็นส่วนผลักดันให้มีการพัฒนาไปได้ไกลและมีประสิทธิภาพอีกด้วย สำหรับความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนไหวแบบธรรมดานั้น ได้แก่ การแข่งขันวิ่งเร็ว ถ้าต้องการจะวิ่งให้เร็วขึ้นจะต้องลดระยะเวลาของการหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อ นั่นคือ ความยาวของก้าวและความถี่ของก้าวจะต้องเพิ่มขึ้น
ความยาวของการก้าวเท้าขึ้นอยู่กับความยาวของเขา และความถี่ของการก้าวเท้าขึ้นอยู่กับความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อ และการร่วมมือกันทำงานระหว่างระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ
ความเร็วสูงสุดของคนเรานั้น จะอยู่ในช่วงอายุ 21 ปีสำหรับชาย และ 18 ปีสำหรับหญิง ในการที่จะเพิ่มความเร็วอาจจะกระทำได้อีก กล่าวคือ
1. 1. เพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อที่ใช้เหยียดขา
2. 2. ฝึกวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการร่วมงานกันของกลุ่มกล้ามเนื้อ
3. 3. แก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคนิคและกลไกของการวิ่ง


2. 2. การเสริมสร้างพลังกล้ามเนื้อ (Muscle Power)
พลังของกล้ามเนื้อเกิดจากการรวมของปัจจัยต่อไปนี้
1. 1. แรงที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อหลาย ๆ มัด ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในกลุ่มเดียวกัน
2. 2. ความสามารถของกล้ามเนื้อในกลุ่มเดียวกันที่ทำงานประสานกับกล้ามเนื้อของกลุ่มตรงข้าม
3. 3. ความสามารถทางกลไกในการทำงานของระบบคนระหว่างกระดูกกับกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง


3. การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength)
จากหลักการที่ว่า วิธีที่จะทำให้เกิดความแข็งแรงได้นั้น จะต้องฝึกให้กล้ามเนื้อทำงานต่อสู้กับแรงต้านทานหรือน้ำหนักที่สูงขึ้น โดยวิธีเพิ่มแรงต้านทานทีละน้อยเป็นระยะเวลานาน
วิธีการฝึกเพื่อพัฒนาความแข็งแรงนั้นมีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบต่างก็ยึดเอาแรงต้านทาน เป็นสำคัญสำหรับพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หรือยึดหลัก “Overload Principle” โดยให้ร่างกายฝึกเลยขีดความสามารถปกติ (Normal Capacity) สักเล็กน้อย ซึ่งการออกกำลังกายที่เกินขีดความสามารถนี้จะทำให้ร่างกายเกิดการสับสน ในระยะ 2 – 3 วันแรก หลังจากนั้น ร่างกายจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ โดยปกติหากเราให้เวลาแก่ร่างกาย เพื่อการปรับตัวประมาณ 1 เดือน จะทำให้ร่างกายทำงานในขีดความสามารถธรรมดาใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ ร่างกายมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ขีดความสามารถก็สูงขึ้นด้วย ในปัจจุบันวิธีการฝึกเพื่อพัฒนาความแข็งแรง จะใช้การฝึกแบบ Isometric Exercise
4. การเสริ มสร้างความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle Endurance)
ในการเสริมสร้างความอดทนหรือทนทานของกล้ามเนื้อ เท่ากับเป็นการเสริมสร้างการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ระบบหายใจ และระบบกล้ามเนื้อ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกเพื่อเสริมสร้างคุณสมบัติดังกล่าว ก็คล้ายกับการฝึก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง เพราะต่างก็ยึดหลัก Overload Principle พร้อมทั้งมีความเข้มข้น ระยะเวลา และความบ่อยอย่างเพียงพอ และเหมาะสมสำหรับแต่ละคน


5. การเสริมสร้างความคล่องตัว (Agility)
ความคล่องตัวมีผลต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติกิจกรรมทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ต้องอาศัยการเปลี่ยนทิศทางหรือเปลี่ยนตำแหน่งของร่างกาย ที่ต้องการความรวดเร็ว และถูกต้อง เช่น การออกวิ่งได้เร็ว หยุดได้เร็ว และเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ฉะนั้น ความคล่องตัวจึงเป็นพื้นฐานของสมรรถภาพทางกาย และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเล่นกีฬาหลายอย่าง เช่น บาสเกตบอล แบดมินตัน ยิมนาสติก ฟุตบอล วอลเลย์บอล เป็นต้น


6. การเสริมสร้างความอ่อนตัว (Flexibility)
ความอ่อนตัว หมายถึง พิกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อ (The Range of Motion at a Joint) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง คือ
1. 1. Static Flexibility หมายถึง พิกัดการเคลื่อนไหวขณะที่ข้อต่อเคลื่อนไหวช้ามาก ๆ
2. 2. Dynamic Flexibility หมายถึง พิกัดการเคลื่อนไหวขณะที่ข้อต่อเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ซึ่งมักจะมากกว่าแบบแรกเล็กน้อย
ความสามารถของข้อต่อต่าง ๆ ในการเคลื่อนไหวได้อย่างกว้างขวาง ก็คือ ความสามารถ
ในการอ่อนตัว และการเคลื่อนไหวใด ๆ ถ้าไม่ได้ทำบ่อย ๆ หรือไม่ค่อยได้มีโอกาสใช้ข้อต่อบริเวณนั้นๆ จะมีผลทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณนั้นเสียความสามารถในการยืดตัว จึงทำให้การอ่อนตัวไม่ดีไปด้วย และทำให้มีไขมันสะสมอยู่ในร่างกายเพิ่มขึ้น เท่ากับเป็นการลดความสามารถของการอ่อนตัวลงไปด้วย
โดยทั่วไปผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดีจะต้องมีความอ่อนตัวดี และความอ่อนตัวจะดีได้จะต้องปราศจากข้อจำกัดต่อไปนี้ คือ
1. 1. โรคหรือการบาดเจ็บ ที่ทำให้ข้อต่อรวมทั้งกระดูกอ่อนที่หุ้มปลายกระดูกเสื่อมลง
2. 2. การมีสารที่เป็นอันตรายปรากฎอยู่ที่ข้อต่อ
3. 3. การอักเสบของเยื่อหุ้มข้อต่อ
4. 4. น้ำหล่อลื่นในข้อต่อแห้งหรือมีน้อยเกินไป


7. การเสริมสร้างความอดทนทั่วไป (General Endurance)
ความอดทนหรือความทนทาน หมายถึง ความสามารถของร่างกาย ที่ทนต่อการทำงานที่มีความเข้มข้นของงานระดับปานกลางได้เป็นระยะเวลานาน
ความอดทนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. 1. ความอดทนของระบบไหลเวียนและระบบหายใจ (Circulorespiratory Endurance)
2. 2. ความอดทนของกล้ามเนื้อแต่ละแห่งของร่างกาย (Local Muscle Endurance)